วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สังกะสีและแคดเมียม ( Zn , Cd )

สังกะสี แร่สังกะสีที่พบมากที่สุดคือ แร่สฟาเลอไรด์( ZnS ) เมื่อนำมาถลุงแล้วจะอยู่ในรูปของของเหลวไม่บริสุทธิ์ ในประเทศไทยพบแร่สังกะสีในหลายจังหวัด เช่น ลำปาง แพร่ แต่สำหรับที่ตากเป็นแร่สังกะสีชนิดซิลิเกต คาร์บอเนตและออกไซด์ ซึ่งจะมีลำดับวิธีการถลุงแร่แตกต่างกันออกไป
       ปัจจุบันมีการใช้โลหะสังกะสีอย่างกว้างขวาง โดยใช้เป็นสารเคลือบเหล็กกล้า ใช้ผสมกับทองแดงเกิดเป็นทองเหลืองเพื่อใช้ขึ้นรูปหรือหล่อมผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้สารประกอบออกไซด์ของสังกะสียังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยาง สี เซรามิกส์ ยา เครื่องสำอาง และอาหารสัตว์
โลหะแคดเมียมใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตเซลล์นิกเกิล-แคดเมียม ทำสีในอุตสาหกรรมพลาสติก เซรามิกส์ ทำโลหะผสม และใช้โลหะแคดเมียมเคลือบเหล็กกล้า ทองแดง และโลหะอื่นๆเพื่อป้องกันการผุกร่อน
สังกะสี คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 30 และสัญลักษณ์คือ Zn สังกะสีอยู่ในตารางธาตุหมู่ 12 ชื่อในภาษาอังกฤษมาจากภาษาเยอรมันว่า Zink
คุณสมบัติทั่วไป
  1. เป็นธาตุประเภทโลหะที่มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีพอสมควรกับออกซิเจนและธาตุที่ไม่ใช่โลหะ
  2. เมื่อทำปฏิกิริยากับกรดเจือจางจะปล่อยก๊าซไฮโดรเจนออกมา
สังกะสีพบที่จังหวัดลำปาง แพร่ เลย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ส่วนที่แม่สอด จังหวัดตากตากเป็นประเภท ซิลิเกต คาร์บอเนตออกไซด์ แร่สังกะสีที่สำคัญและพบมากที่สุด คือ แร่สฟาเลอไรต์ (ZnS)
การถลุงสังกะสี
ใช้วิธีการเผาในอากาศเพื่อปลี่ยนเป็นสารประกอบ ออกไซด์ แล้วถลุงที่ความร้อน 1100 oC โดยใช้คาร์บอนหรือคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นตัวรีดิวซ์ ดังนี้
ZnO(s) + C(s) ------> Zn (l) + CO (g)
ZnO(s) + CO(g) ------> Zn (l) + CO2(g)
สังกะสีที่ถลุงได้อยู่ในรูปของเหลวที่ไม่บริสุทธิ์ คาร์บอนไดออกไซด์จึงทำปฏิกิริยากับ คาร์บอนกลายเป็น คาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
CO2(g) + C (s) --------> 2CO (g)
การถลุงสังกะสีที่มีสินแร่แฮมิมอไพต์ (Zn4Si2O7(OH)2H2O)
เริ่มจากกการนำแร่เปียกมาบดจนละเอียดแล้วให้ทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟวริก เกิดเป็นสารประกอบ ZnSO4 ต่อจากนั้นปรับสภาพสารละลายให้เป็นกลางด้วยหินปูนหรือปูนขาว แล้วกรองเพื่อแยกกาก ออกจากสารละลาย แต่ ZnSO4 ที่ละลายอยู่ในสารละลายยังไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากมีเกลือของโลหะ แคดเมียม พลวง และทองแดงผสมอยู่ จึงต้องกำจัดไอออนเหล่านี้ออกโดยการเติมสังกะสีลงไป จะได้ตะกอนของ แคดเมียม พลวงและทองแดง ดังปฏิกิริยา
Zn(s) + CdSO4(aq) ----> ZnSO4 (aq) + Cd(s)
3Zn(s) + Sb2(SO4)3(aq) ----> 3ZnSO4 (aq) + 2Sb(s)
Zn(s) + CuSO4 (aq) -----> ZnSO4 (aq) + Cu(s)
ZnSO4 ที่ได้จะถูกส่งไปยังโรงแยกสารด้วยกระแสไฟฟ้าต่อไป
การแยกสารละลาย ZnSO4 ด้วยกระแสไฟฟ้า
เมื่อผ่านไฟฟ้ากระแกตรงในสารละลาย ZnSO4 จะเกิดปฏิกิริยาดังนี้
ที่แคโทด : Zn2+(aq) + 2e- ----> Zn(s)
ที่แอโนด : H2O (l) ----> 2H++ 1/2O2(g) + 2e-
ปฏิกิริยารวม : Zn2+(aq) + H2O(l)----> 2H+ + 1/2O2(g)+2e-
พบว่าได้โลหะสังกะสีเกาะอยู่ที่ขั้วแคโทดและแก๊สออกซิเจนเกิดขึ้นที่ขั้วแอโนด
การนำสังกะสีไปใช้ประโยชน์
  1. อุตสาหกรรมแผ่นเหล็กชุบ ลวดเหล็กชุปสังกะสี
  2. ภาชนะ เครื่องประดับ ที่จับประตู
  3. กล่องถ่านไฟฉาย
  4. สารประกอบออกไซด์ของสังกะสีใช้ใน อุตสาหกรรมยาง สี เครื่องสำอางและอาหารสัตว์
แคดเมียม
แคดเมียม คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 48 และสัญลักษณ์คือ Cd แคดเมียมเป็นโลหะทรานซิชันสีขาว-ฟ้า เป็นธาตุมีพิษ ในธรรมชาติพบอยู่ในแร่สังกะสี
การถลุงแคดเมียม
การถลุงแคดเมียมทำได้โดยนำกากตะกอน มาบดให้ละเอียดแล้ละลายในกรดซัลฟิวริกและ ทำให้เป็นกลางด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต
CdSO4(aq) + ตะกอน
จากนั้นเติมผงสังกะสีลงในสารละลายจะได้แคดเมียมตกตะกอนออกมา แล้วจึงนำแคดเมียมที่ได้ไปแยกด้วยกระแสไฟฟ้าต่ออีกครั้ง
การนำแคดเมียมไปใช้
  1. อุตสาหกรรมผลิตเซลล์นิกเกิล - แคดเมียม
  2. ใช้เคลือบเหล็กกล้า ทองแดงป้องกันโลหะการผุกร่อน
  3. ทำสีในอุตสาหกรรมพลาสติก เซรามิกส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น